Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

โลหิตจาง รู้ไว้…ไม่ซีด

2023-02-15T16:37:59+00:00

  โลหิตจาง รู้ไว้...ไม่ซีด           โลหิตจาง หรือภาวะซีด เกิดจากการที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติจะส่งผลเสียต่อร่างกาย อาทิ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือวูบ หมดสติ ขั้นรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ 3 สาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลหิตจาง ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง ภาวะขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี12 เป็นต้น ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้ เป็นผลจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆ การรักษาด้วยรังสี ยาบางชนิด โรคไขกระดูกฝ่อ การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรค SLE ร่างกายมีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากเกินไป เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic Anemia) โรคธาลัสซีเมีย อาจมีภาวะโลหิตจาง ร่วมกับอาการเหลือง ซีด ม้ามและตับโต ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD การเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการตกเลือด เกิดจากการเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากการเป็นประจำเดือน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะ เมื่อสงสัยว่าโลหิตจาง   [...]

โลหิตจาง รู้ไว้…ไม่ซีด2023-02-15T16:37:59+00:00

หูดับเฉียบพลัน โรคเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

2023-02-15T16:39:46+00:00

           หูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss)   อาการดังกล่าวเป็นภาวะการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากประสาทรับเสียงบกพร่องทันทีทันใด พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงทุกช่วงวัย ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหู การติดเชื้อไวรัส เนื้องอกที่ประสาทหู หรืออาจเกิดจากมีความผิดปกติของสมอง โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง อาการของภาวะหูดับเฉียบพลัน สูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน โดยมักเกิดในหูข้างใดข้างหนึ่ง มีเสียงดังรบกวนในหู มีอาการหูอื้อก้อง อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย            หากมีความผิดปกติตามอาการข้างต้นเกิดขึ้น แนะนำให้รีบพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อซักประวัติและรับการตรวจร่างกาย รวมถึงตรวจการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer และตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ การรักษาภาวะหูดับเฉียบพลัน รับประทานยาตามแพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ งดการฟังเสียงดัง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดัง แพทย์ทำการนัดหมายเข้ารับการตรวจติดตามอาการ และตรวจการได้ยินเพื่อประเมินและวางแผนการรักษาในลำดับต่อไป            การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก [...]

หูดับเฉียบพลัน โรคเงียบที่ไม่ควรมองข้าม2023-02-15T16:39:46+00:00

การนอนกรน ZZZ… ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

2023-09-13T16:38:14+00:00

           การนอนกรนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการนอนกรน จนกระทั่งมีคนอื่นมาบอก การนอนกรนมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย และจะนำมาซึ่งโรคแห่งความเสื่อมหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดในสมอง อัลไซเมอร์ และความจำเสื่อม เป็นต้น จึงมีการศึกษาถึงสาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับตามปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ซึ่งเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องลำคอ หย่อนยาน จนตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย โครงสร้างทางเดินหายใจแคบลงจากภาวะต่างๆ เช่น ต่อมทอนซิลโตมาก ผนังกั้นจมูกคด ลิ้นโตผิดปกติ เพดานอ่อน ลิ้นไก่หย่อนยาน เป็นต้น โรคอ้วน เนื่องจากไขมันจะกระจายอยู่รอบๆ ทางเดินหายใจช่วงบน เวลาที่นอนลง เกิดน้ำหนักกดทับ ทำให้ช่องคอแคบลง กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง จนเกิดการหยุดหายใจได้ เพลียจากการออกกำลังกายอย่างหนักหรือการดื่มสุรา เพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิดหมดแรงไปด้วย จึงเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น            ปัจจุบันวงการแพทย์หันมาสนใจศึกษาและคิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาอาการนอนกรนกันมากขึ้น โดยการแนะนำให้สังเกตอาการด้วยตนเองก่อนปรึกษาแพทย์ [...]

การนอนกรน ZZZ… ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม2023-09-13T16:38:14+00:00

PM 2.5 คู่ปรับภูมิแพ้

2023-02-15T16:43:37+00:00

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?           ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากเพียง 2.5 ไมครอน ทำให้ฝุ่นนี้สามารถเข้าจมูกไปยังหลอดลมใหญ่จนถึงหลอดลมขนาดเล็กในปอดได้ ฝุ่น PM 2.5 มีผลต่อโรคภูมิแพ้อย่างไร ผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น มีอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหลมากขึ้น ผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น มีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจติดขัด รวมถึงหายใจมีเสียงวี๊ดได้ ผลต่อระบบผิวหนัง โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ผิวหนังอยู่เดิม จะทำให้เกิดอาการกำเริบ มีผื่นแดงขึ้นตามตัวมากขึ้นได้ วิธีการรักษา การล้างจมูก เพื่อเป็นการชะล้างเอาฝุ่น PM2.5 ที่เกาะอยู่บนผนังจมูกออกไป ควรใช้ยารักษาภูมิแพ้ที่รักษาอยู่เดิมอย่างต่อเนื่อง เช่น  การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก หรือ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นทางปากสำหรับโรคหอบหืด เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม และเริ่มการรักษา การป้องกัน การใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน โดยหน้ากากที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5ได้ [...]

PM 2.5 คู่ปรับภูมิแพ้2023-02-15T16:43:37+00:00

การรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดสำหรับโรค ปวดศีรษะ และ มึนศีรษะ ที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางสมองและระบบประสาท

2020-02-13T14:30:37+00:00

การรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดสำหรับโรคปวดศีรษะและมึนงงที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางสมองและระบบประสาท

การรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดสำหรับโรค ปวดศีรษะ และ มึนศีรษะ ที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางสมองและระบบประสาท2020-02-13T14:30:37+00:00