Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ2023-10-06T10:28:58+00:00

ศูนย์หัวใจ

           โรงพยาบาลเจ้าพระยาได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยจัดทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจประจำการในโรงพยาบาลตลอดเวลา เพื่อพร้อมให้บริการทุกท่านร่วมกับทีมพยาบาลและเครื่องมือที่ทันสมัย โดยทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาพร้อมให้บริการตรวจรักษาโรคหัวใจโดยเฉพาะ
      

บริการทางการแพทย์

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ลิ้นหัวใจผิดปกติ

  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  • การตรวจการทำงานและความผิดปกติของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนและความถี่สูง3มิติ (3D-Color Doppler-Echocardiogram)

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ (Multi-Detector CT Scan)

  • เครื่องบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจต่อเนื่อง (Holter Monitoring)

  • การผ่าตัดหัวใจ

  • การตรวจสวนหัวใจ

  • การฉีดสีหัวใจ

  • การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (P.T.C.A)

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac Rehabilitation)

  • ให้คำแนะนำการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจ

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง

(Echocardiogram)

           ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งจะถูกส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับซึ่งแตกต่างระหว่างน้ำและเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำเอาสัญญาณเหล่านี้มาสร้างภาพ ทำให้เห็นหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ นอกจากนี้ยังสามารถให้สีเพื่อดูทิศทางการไหลของเลือด วัดความเร็วของการไหลของเลือดในตำแหน่งต่างๆ ได้ Echocardiogram จึงช่วยให้ทราบขนาดหัวใจห้องต่างๆ การทำงานของลิ้นหัวใจว่ามีการตีบตันหรือรั่วหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจดูความหนา ความสามารถในการบีบตัวว่ามีส่วนใดผิดปกติหรือไม่ ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ภาวะติดเชื้อของลิ้นหัวใจ ก้อนเลือดหรือก้อนเนื้องอกในหัวใจ

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย

Exercise Stress Test(EST) การวิ่งบนสายพาน

           เป็นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจว่ามีตีบหรือตัน ดูความแข็งแรงความฟิตของผู้ถูกทดสอบ และใช้ตรวจหาการเต้นผิดจังหวะของหัวใจที่อาจจะเกิดขึ้นขณะที่มีการออกกำลังกาย ว่าเป็นชนิดธรรมดาหรือชนิดร้ายแรง การทดสอบชนิดนี้ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้เป็นอย่างดี ว่าเป็นจากโรคหัวใจหรือไม่ โดยการให้ผู้ถูกทดสอบออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ โดยสายพานจะค่อยๆ เร็วขึ้นและชันขึ้นทีละน้อ ตามโปรแกรมที่ตั้งขึ้นไว้ เมื่ออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น และในบางรายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเจ็บหน้าอกและเวลาที่ใช้เดินออกกำลังกาย จะสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี และยังใช้การติดตามผู้ป่วยภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยาหรือการขยายหลอดเลือดหรือการผ่าตัดว่ามีอาการดีขึ้นเพียงไร

การปฏิบัติตัว – ควรรับประทานอาหารอ่อนและปริมาณน้อย บางรายอาจต้องงดรับประทานอาหารก่อนถึงกำหนดเวลาทดสอบอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ระยะเวลาในการตรวจ – เวลาในการเดินสายพานประมาณ 5-15 นาที เวลาติดตามผลประมาณ 5-10 นาที รวมเวลาทั้งหมดประมาณ 30 นาที

การตรวจสวนหัวใจและฉีดสี

(Cardiac Catheterization and Angiogram)

การตรวจสวนหัวใจหรือการฉีดสี หมายถึงการใช้สายสวนขนาดเล็กใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดง อาจจะใส่บริเวณขาหนีบ ข้อพับแขนหรือข้อมือ ย้อนไปจนถึงจุดที่เป็นรูเปิดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจทั้งซ้ายและขวา แพทย์จะใช้สารละลายทึบรังสีที่เราเรียกง่ายๆ ว่า สีฉีด เข้าไปทางสายสวนนั้น ไปที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและใช้เครื่องเอ๊กซ์เรย์ตรวจสอบดูขณะที่ทำการฉีดสี ว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดหรือไม่ ตำแหน่งใด ตีบกี่จุด กี่เส้น ทั้งนี้นอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังช่วยในการตัดสินใจของผู้ป่วย ญาติ และแพทย์อีกด้วย ว่าควรจะแก้ไขหรือรักษาด้วยวิธีใดให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิผลแก่ผู้ป่วยอย่างสูงสุด เช่น การใช้บอลลูน หรือการใช้ขดลวดเล็กๆ เข้าไปขยายเส้นที่ตีบตันหรือจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดบายพาส(Bypass Graft) ปัจจุบันการตรวจสวนหัวใจทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น ใช้เวลาพักอยู่โรงพยาบาลเพียง 1 วัน และขณะที่ทำไม่ต้องใช้ยาสลบแต่อย่างใด จะใช้ยาเฉพาะที่เท่านั้น ขณะตรวจผู้ป่วยจะสามารถมองผ่านทางจอภาพได้ตลอดเวลา พูดคุยกับแพทย์ที่ทำการตรวจได้ เมื่อการตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็จะทราบผลการตรวจได้ทันที

การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติ

(Tilt Table Test)

การเป็นลมคือการไม่รู้สติสัมปชัญญะอย่างเฉียบพลัน โดยไม่มีความผิดปกติของระบบประสาทเฉพาะที่ เช่น ในโรคลมชัก การตรวจ Tilt table test นี้ เป็นการตรวจพิเศษที่ใช้ตรวจในคนไข้ที่มีปัญหาเป็นลมบ่อยโดยที่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งอาจมีสาเหตุเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบประสาทอัตโนมัติได้ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป การทดสอบจะกระทำในห้องที่มีเตียงพิเศษ สามารถปรับระดับองศาของเตียงได้ โดยจะให้ผู้ถูกทดสอบนอนเอียงเป็นมุมประมาณ 70-80 องศา เป็นเวลาประมาณ 40 นาที ขณะที่มีการตรวจวัดกราฟไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง วัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ ผลการทดสอบแพทย์จะวิเคราะห์จากอัตราชีพจร ความดันโลหิต ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการของผู้ป่วย ซึ่งในรายที่เด่นชัดจะมีอาการเป็นลมหมดสติให้เห็นได้ บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำขึ้น

  DEPARTMENT INFORMATION

YEARLY PATIENTS 14,232

  OPENING HOURS

โปรดติดต่อสอบถาม Call Center

ก่อนเข้ารับบริการ

0-2433-8222

0-2433-5666

Call Center เปิดให้บริการทุกวัน

8.00-17.00 น.

โปรดติดต่อในเวลาทำการ

PHONE

02-434-1111

02-884-7000

ต่อศูนย์หัวใจ

LOCATION

ชั้น 2

โรงพยาบาลเจ้าพระยา 113/44

ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์

เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

10700 ประเทศไทย

วิดีโอ

บทความสุขภาพ

กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)

By |June 27th, 2018|Categories: Article|Tags: |

กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction) หรือบางทีเรียกว่า Heart attack [...]

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

By |June 27th, 2018|Categories: Article|Tags: |

           ความดันโลหิตสูง เป็นมหันตภัยเงียบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยขึ้น เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่ไม่ค่อยมีอาการ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญ [...]