Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

นิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ

2024-07-05T15:56:54+00:00

นิ่วคืออะไร นิ่วเกิดขึ้นได้โดยการรวมตัวจับเป็นก้อนของผลึกสารที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะกับสารคอลลอยด์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะเช่นกัน สาเหตุ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่นอนแต่พบว่าสาเหตุที่เกี่ยวข้องนั้น เกี่ยวข้องกับสาเหตุภายในร่างกายของผู้ป่วยเองและสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย ก. กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยที่พ่อแม่เป็นโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้ อายุและเพศ พบในชายมากกว่าหญิง พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก พบในเด็กชายน้อยกว่า 7 ปี และในผู้ใหญ่ช่วงอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป ความผิดปกติในการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ ซึ่งหลั่ง Hormone ที่ควบคุมสาร Calium ออกมามากกว่าปกติ มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ เมื่อน้ำปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในน้ำปัสสาวะตกผลึกก็มีมากขึ้น ความเป็นกรด/ด่างของน้ำปัสสาวะ ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดมากจะเกิดการตกผลึกกรดยูริกซีสตีน ส่วนน้ำปัสสาวะที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะเกิดการตกตะกอนของผลึกสารจำพวก Oxalate Phosphate Carbonate การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ วัตถุแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ ยาบางอย่าง ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆ ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่างจะเกิดนิ่วพวก Phosphate ได้ง่าย ข. สาเหตุร่วมที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมตัวผู้ป่วย สภาพภูมิศาสตร์ มักอยู่บริเวณที่ราบสูงประเทศ พบมากในภาคอีสานและเหนือ สภาพอากาศและฤดูกาลในฤดูร้อน จะพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะมาก อาจเนื่องมาจากการเสียเหงื่อมาก ทำให้ปัสสาวะเข้มข้นทำให้นิ่วโตเร็วขึ้น จึงเกิดอาการขึ้น ปริมาณน้ำดื่ม ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะถ้าดื่มน้ำดื่ม [...]

นิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ2024-07-05T15:56:54+00:00

รักษาโรคต่อมลูกหมากโต ด้วยพลังงานความร้อนจากไอน้ำ WATER VAPOR THERAPY

2024-06-20T14:35:09+00:00

ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ไม่ต้องกินยา ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในระยะยาว 50-60% ของผู้ชายอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะต่อมลูกหมากโต 90% ของผู้ชายอายุ 85 ปีขึ้นไป มีภาวะต่อมลูกหมากโต คุณกำลังมีอาการเหล่านี้หรือไม่? ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน? กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด? ปัสสาวะไม่พุ่ง ไม่สุด หรือเป็นหยด? มีผลข้างเคียงจากการรับประทานยารักษาโรคต่อมลูกหมากโต การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ด้วยพลังงานความร้อนจากไอน้ำ คืออะไร เป็นการใช้ไอน้ำร้อนในการรักษา โดยไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกาย ใช้เวลาในการทำหัตถการสั้นๆเพียง 10-20 นาที เห็นผลดีขึ้นภายในระยะเวลา 1-3 เดือน* 95% ของคนไข้ พบว่าผลลัพธ์จากการรักษายังคงมีประสิทธิภาพที่ดี แม้ผ่านไป 5 ปี* สามารถหยุดยารักษาโรคต่อมลูกหมากโตได้เลยหลังจากที่เริ่มเห็นผลดี* ผ่านการขึ้นทะเบียนจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย เป็นการรักษาที่ได้รับการระบุในแนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตในระดับสากล (AUA Guideline) *ผลลัพธ์ทางการรักษาขึ้นอยู่กับบุคคล ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนที่จะเลือกการรักษาใด ๆ ก่อนการรักษา ต่อมลูกหมากที่ขยายใหญ่ จะบีบรัด ท่อทางเดินปัสสาวะ  ทำให้ปัสสาวะลำบาก [...]

รักษาโรคต่อมลูกหมากโต ด้วยพลังงานความร้อนจากไอน้ำ WATER VAPOR THERAPY2024-06-20T14:35:09+00:00

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Spinal Muscular Atrophy : SMA)

2024-04-12T11:27:48+00:00

         โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Spinal Muscular Atrophy หรือ SMA) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปรกติทางพันธุกรรมของยีนที่ส่งผลต่อเส้นประสาทไขสันหลังที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเส้นประสาทเหล่านี้ จะควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ การกลืน และการเคลื่อนไหวของแขนขา โรค SMA จะทำให้กล้ามเนื้อลีบเล็กและฝ่อไปทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA มีด้วยกัน 4 ชนิด ดังนี้   ชนิดแรก (Type I) พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดในทารกแรกคลอด ทำให้เกิดความพิการรุนแรงและมักเสียชีวิตก่อน 2 ขวบ ทารกมักแสดงอาการ คือ ไม่สามารถนั่งหรือยืนได้ตามวัย ชนิดที่สอง (Type II) รุนแรงปานกลาง มักมีอายุขัยสั้นและต้องช่วยเดินหรือยืน โดยมักแสดงอาการเมื่อทารกอายุ 7-8 เดือน ชนิดที่สาม (Type III) มีความรุนแรงน้อย มักแสดงอาการหลังอายุ 18 เดือน ชนิดที่สี่ (Type IV) ที่แสดงอาการในวัยผู้ใหญ่หรือหลังจากอายุ [...]

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Spinal Muscular Atrophy : SMA)2024-04-12T11:27:48+00:00

โรคของหลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary artery disease)

2024-02-22T13:29:27+00:00

           หัวใจของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย คือ ทำงานตั้งแต่ยังไม่เกิด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา และจะไม่มีโอกาสหยุดพักใด ๆ หลังจากเกิดขึ้นมาแล้ว พลังงานที่ได้ก็มาจากหลอดเลือดแดงของหัวใจ หลอดเลือดแดงของหัวใจนี้แยกออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เป็นส่วนที่หัวใจส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายทั้งหมดที่เรียกว่า Aorta และกระจายครอบหัวใจไว้ พร้อมทั้งส่งแขนงต่าง ๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ คล้ายกับเป็นมงกุฎที่ครอบลงไปในหัวใจ จนได้ชื่อว่าหลอดเลือดมงกุฎ (Coronary artery) คล้ายกับชาวนาไทยที่ส่งข้าวไปเลี้ยงคนทั้งประเทศ แต่ตนเองอาจมีข้าวที่เลี้ยงตัวเองน้อยนิด           จากหลอดเลือดมงกุฎ ซึ่งแยกเป็นซ้าย ขวา ขนาดก็ประมาณหลอดกาแฟ 3 - 4.5 มิลลิเมตร แตกต่างจากการได้รับพลังงานของสัตว์ชนิดอื่น เช่น พวกสัตว์เลื้อยคลานจะได้รับพลังงานโดยตรงจากเลือดทั้งหมดที่มีอยู่ในห้องของหัวใจ (สัตว์เลื้อยคลานไม่มีหลอดเลือดมงกุฎสำหรับเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ) เมื่อหลอดเลือดมงกุฎแคบลง ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน (O2) ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้เกิดอาการ เช่น เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกายหรือเกิดความเครียด หรือจากการใช้ยา หรือสาร กระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดภาวะหัวใจวายหรือการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้ [...]

โรคของหลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary artery disease)2024-02-22T13:29:27+00:00

พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง สมาธิไม่ดีในเด็ก อาจจะเกิดจากการนอนที่ไม่ดีได้นะ

2023-09-13T15:39:33+00:00

            ปัญหาพฤติกรรมของเด็ก โดยเฉพาะตอนไปโรงเรียน เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นกังวลกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง สมาธิในการเรียนไม่ดี มักจะทำให้คุณครูเข้าใจว่าตัวเด็กเป็นโรคซนสมาธิสั้นหรือ ADHD (attention deficit hyperactivity disorder) ซึ่งเป็นโรคพัฒนาการล่าช้ารูปแบบหนึ่งที่พบได้ค่อนข้างบ่อย อย่างไรก็ดี สาเหตุของการที่เด็กมีอาการไม่นิ่ง หรือสมาธิไม่ดี อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคความบกพร่องของทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้าน หรือโรค LD (learning disabilities) ภาวะสติปัญญาบกพร่อง (intellectual disability) โรคลมชักชนิดเหม่อ (absence epilepsy) และเกิดจากการนอนที่ไม่ดี           การนอนหลับเป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีประโยชน์ทั้งในด้านการพักผ่อนและเป็นการเปิดระบบการทำงานของร่างกายอีกหลายส่วนที่จะเกิดขึ้นเฉพาะหรือเกิดขึ้นเด่นในช่วงของการนอนหลับเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) ในช่วงการหลับลึก การกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในช่วงการหลับลึก และการสร้างความจำระยะยาว (long-term memory formation) ในหลายช่วงของการนอนหลับ ดังนั้น หากการนอนหลับเกิดขึ้นได้ไม่ดี [...]

พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง สมาธิไม่ดีในเด็ก อาจจะเกิดจากการนอนที่ไม่ดีได้นะ2023-09-13T15:39:33+00:00

แคลเซียมในหลอดเลือดคืออะไร

2023-09-11T09:25:21+00:00

แคลเซียมในหลอดเลือดคืออะไร มาสำรวจความเสื่อมและประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจกันเถอะ หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ..เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน หากพบค่าที่สูงกว่า 400 มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะเวลา 2-5 ปีข้างหน้า รับชมวิดิโอให้ความรู้แคลเซียมในหลอดเลือดได้ที่นี่ โรงพยาบาลเจ้าพระยาขอแนะนำโปรแกรมตรวจปริมาณคราบหินปูนเกาะบนผนังหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Scoring

แคลเซียมในหลอดเลือดคืออะไร2023-09-11T09:25:21+00:00

สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังเมื่อ…ตั้งครรภ์

2024-04-12T11:47:31+00:00

สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังเมื่อ... ตั้งครรภ์ ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ไว้ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หรือไม่ใหม่ทั้งหลายเมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สิ่งแรกที่สุดที่คาดหวังกันทุกคนคือต้องการให้ลูกที่กำลังจะเกิดมานั้นมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ เลยจนกระทั่งถึงวันคลอด ได้คลอดลูกอย่างปลอดภัย และอุ้มลูกกลับบ้านอย่างมีความสุขถ้วนหน้ากันทุกคน ความคาดหวังเช่นนี้มิได้เป็นความคาดหวังเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์เท่านั้น แต่เป็นความคาดหวังของทั้งคุณหมอคุณพยาบาลที่ร่วมดูแลครรภ์นั้นด้วยอย่างแน่นอน           แต่ทำไมจึงมีสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้เล่า ?           ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าว ลองมาดูความเป็นจริงที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ทุกคนที่ตั้งครรภ์ ระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนมีโอกาสที่จะแท้งลูกประมาณร้อยละ 10  ยิ่งอายุคุณแม่มากขึ้นเท่าไหร่โอกาสแท้งก็มากขึ้นตามไปด้วย เช่น ถ้าคุณแม่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสแท้งถึงร้อยละ 30 ทีเดียว           เมื่อผ่านพ้นช่วง 3 เดือนไปแล้วโอกาสแท้งก็น้อยลง ทารกเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ แต่ทารกบางคนก็อาจจะเกิดภาวะการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คือเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร พบได้ประมาณร้อยละ 2-10 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เมื่อถึงเวลาครบกำหนดคลอด จึงได้ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติออกมา หรือทารกอาจมีน้ำหนักน้อยจากการคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน ซึ่งพบได้ร้อยละ 5-10 [...]

สิ่งที่ไม่ได้คาดหวังเมื่อ…ตั้งครรภ์2024-04-12T11:47:31+00:00

ภาวะตื่นแล้วหลับยากของคุณแม่ตั้งครรภ์

2024-04-12T11:56:42+00:00

ภาวะตื่นแล้วหลับยากของคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อตื่นแล้วนอนต่อไม่หลับ ภัยร้ายที่ส่งผลเสียต่อลูก           คุณเชื่อหรือไม่ว่าในขณะที่หลายคนกำลังนอนหลับฝันหวานกันอยู่นั้น มีคุณแม่ตั้งครรภ์บางคนตื่นมากลางดึกแล้วนอนไม่หลับ โดยตอนแรกก็หลับได้อย่างง่ายดาย แต่พอตื่นมาแล้วจะนอนต่อก็หลับไม่ได้ง่ายซะแล้ว อยากนอนหลับให้ลึกก็ยากขึ้น ทำให้ไม่สดชื่นหลังการตื่นนอน ซึ่งคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องอดทนหรือกังวลกับอาการนี้มากนัก เพราะยังมีวิธีแก้ไขหลายวิธีที่จะช่วยให้หลับสบายได้ดีขึ้น สาเหตุของการตื่นแล้วหลับยากของคุณแม่ตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ในเวลากลางคืนคุณแม่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ เมื่อกลับมาก็ไม่สามารถหลับต่อได้ง่ายอีก ท้องที่มีขนาดโตขึ้นมากทำให้อึดอัด หายใจไม่สะดวก เพราะมดลูกที่โตขึ้นจะไปกดเส้นเลือดใหญ่ในท้องแม่ บางครั้งลูกในท้องมีการดิ้นมาก อาจเตะโดนมดลูกของแม่ทำให้เจ็บหรือสะดุ้งตื่น พอจะหลับต่อก็ยากขึ้น อาการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ หรืออาการตะคริวก็มีส่วนทำให้หลับต่อได้ยาก ความรู้สึกตื่นเต้นหรือกังวลกับการคลอด ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้ง่ายเช่นกัน แล้วจะทำอย่างไรจึงจะนอนหลับ มีการออกกำลังกายเบาๆ ระหว่างวันที่เหมาะกับอายุครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ ที่ไม่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ หรือนมอุ่นๆ พอประมาณก่อนเข้านอน อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน หาหนังสือสักเล่มมาอ่านบนเตียง หรือฟังเพลงที่ทำให้ผ่อนคลายก่อนนอน ให้คุณพ่อนวดบริเวณหลัง, ไหล่ และคอ ก่อนนอน ด้วยโลชั่นที่มีกลิ่นที่ทำให้คุณแม่ผ่อนคลาย จัดท่านอนให้ได้ท่าที่สุขสบายที่สุด บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องฝืนนอนในท่าที่คุณแม่ไม่สบายตัวก็ได้ ควบคุมอุณหภูมิของห้องนอนให้พอเหมาะ เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีอาการขี้ร้อนเป็นพิเศษ หากรู้สึกอึดอัดหรือหายใจไม่ออกเมื่อนอน อาจใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงเพื่อที่จะได้หายใจสะดวกขึ้น ถ้าการนอนในตอนกลางคืนไม่เพียงพอ ควรหาโอกาสนอนหลับในตอนกลางวันบ้าง   บทความโดย [...]

ภาวะตื่นแล้วหลับยากของคุณแม่ตั้งครรภ์2024-04-12T11:56:42+00:00

โรคลมหลับ (Narcolepsy)

2023-09-13T16:37:44+00:00

          โรคลมหลับ เป็นโรคที่เกิดจากสารไฮโปเครติน (Hypocretin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญในการควบคุมการตื่นต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของสมองในการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ เผลอหลับได้ง่ายและอาจหลับแม้ในสถานการณ์หรือสถานที่ที่ไม่ควรหลับ ผู้ป่วยบางรายอาจมี Cataplexy คือการที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงล้มพับลงกับพื้นเวลาที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้อาจมีอาการไม่สามารถขยับตัวได้ขณะจะตื่นคล้ายผีอำ หรือเห็นภาพหลอนช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่น           การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับหรือโรคระบบประสาท เพื่อตรวจการนอนหลับ (Polysomnography, Sleep test) ร่วมกับการตรวจความง่วงตอนกลางวัน (Multiple sleep latency test, MSLT) นอกจากนี้ ยังต้องซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากโรคการนอนหลับหรือโรคทางสมองอื่น ๆ ด้วย           ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคลมหลับให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้ เช่น ใช้ยากระตุ้นการตื่นตัวร่วมกับการวางแผนการนอนเพื่อบรรเทาอาการง่วงนอนระหว่างวัน การใช้ยาที่ช่วยลดอาการ Cataplexy, ผีอำ หรือเห็นภาพหลอน การปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพการนอนที่ดี และการป้องกันอุบัติเหตุจากความง่วงหรืออาการ Cataplexy หากท่านหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการที่อาจเป็นโรคลมหลับ สามารถไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตและคุณภาพการนอนที่ดี จะได้ใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด บทความโดย [...]

โรคลมหลับ (Narcolepsy)2023-09-13T16:37:44+00:00