Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

แสงแดดบ้านเรามีอันตรายมากน้อยเพียงใด

2023-08-24T13:48:01+00:00

          ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนซึ่งอุดมไปด้วยสายลมและแสงแดดได้ในทุกเวลาในทุกฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้พบว่าชั้นบรรยากาศของโลกเริ่มบางลงและเกิดรูรั่วของชั้นโอโซน (Ozone) จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตตัวร้ายสามารถสาดส่องลงมายังพื้นผิวโลกได้อย่างง่ายดาย และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าแสงแดดจะมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายแต่ก็เฉพาะแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าเท่านั้น แต่จะมีอันตรายมากในช่วง 10.00 - 15.00 น. ซึ่งรังสีอัลตราไวโอเลตจะเริ่มแผดเผาและมีปริมาณมาก และถึงแม้ว่าท้องฟ้าจะมีเมฆปกคลุมมากก็ใช่ว่าจะปลอดภัยจากแสงแดด เพราะรังสีตัวร้ายสามารถเล็ดลอดผ่านลงมาได้อย่างสบายๆ รังสีอัลตราไวโอเลต แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ UVC เป็นรังสีที่มีความยาวของคลื่นสั้นที่สุด ซึ่งจะไม่ทำอันตรายต่อผิวมากนักเนื่องจากถูกดูดซับโดยโอโซนในชั้นบรรยากาศ UVA เป็นรังสีที่มีช่วงคลื่นยาว ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำมากขึ้น ผิวจะแดง แต่น้อยกว่า UV-B เพราะเป็นรังสีที่ผ่านทะลุเข้าไปทั้งชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ซึ่งทำอันตรายต่อโครงสร้างและเซลล์ผิวหนังทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นรวมทั้งช่วยเสริมฤทธิ์ของ UV-B ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อผิวหนังมากขึ้น UVB เป็นรังสีช่วงคลื่นสั้นกว่า จะผ่านทะลุหนังกำพร้าและหนังแท้ชั้นบนเท่านั้น ทำให้เกิด SUNBURN ซึ่งมีอาการผิวบวมแดงและอาจพองปวดแสบร้อน ผิวไหม้และแห้งกร้านคล้ำซึ่งเมื่อผิวถูกแดดเผาเป็นประจำทำให้ผิวหมองคล้ำเกิดจุดด่างดำ มีปัญหาเรื่องฝ้า กระ หรือถ้าในระยะยาวอาจลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ โรคที่จะเกิดเมื่อเจอแสงแดดมีอะไรบ้าง           รังสี UV ในปริมาณเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ในการผลิตวิตามิน D [...]

แสงแดดบ้านเรามีอันตรายมากน้อยเพียงใด2023-08-24T13:48:01+00:00

Golf กับ ฝ้า

2024-04-12T13:56:00+00:00

          ฝ้า...สาวนักกอล์ฟทั้งหลายคะ คุณเคยประสบปัญหาเรื่องหน้าหมองคล้ำ ฝ้า กระ ขึ้นหลังจากไปออกรอบไหมคะ วันนี้เรามาเข้าใจถึงปัญหาเรื่องฝ้ากันนะคะ           ฝ้าเป็นปัญหาของเม็ดสีใต้ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากมีการสะสมเซลล์เม็ดสีที่มีปริมาณมากกว่าปกติ และเซลล์เม็ดสีแต่ละตัวก็ทำงานมากกว่าปกติด้วย ฉะนั้นเมื่อมองจากภายนอกจะเห็นผิวเป็นลักษณะปื้นสีดำหรือน้ำตาล บริเวณที่พบบ่อยมักเป็นตำแหน่งที่นูนออกมาจากใบหน้า เช่น โหนกแก้ม สันจมูก หรือหน้าผาก สาเหตุของฝ้านั้นอาจจะเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การกินยาคุมกำเนิด หรือสาวที่เข้าสู่วัยทอง ส่วนสาเหตุที่สำคัญมากๆ ที่ทำให้เกิดฝ้านั้น คือ แสงแดด นั่นเอง แนวทางการรักษาฝ้านั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. แนวทางการป้องกัน เลี่ยงแสงแดด สำหรับสาวนักกอล์ฟนั้นอาจเลี่ยงการออกรอบในช่วง 11.00 – 13.00 น. เนื่องจากมีรังสี UV มากที่สุด การใส่หมวกหรือร่มป้องกันแสง UV นั้น จะช่วยลดปริมาณแสงที่กระทบโดนหน้าลงได้มาก นักกอล์ฟควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 [...]

Golf กับ ฝ้า2024-04-12T13:56:00+00:00

โบท็อกซ์ (Botox)

2024-04-12T14:05:13+00:00

เคยได้ยินคำว่า “โบท็อกซ์” กันบ้างไหมคะ? เคยได้ยินไหมว่า มีสารที่ฉีดลบรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้? โบท็อกซ์ คืออะไร ?           คำว่า “โบท็อกซ์ (Botox) เป็นชื่อทางการค้า (trade name) ของสารชีวภาพชนิดหนึ่งคือ โบทูลินัม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ซึ่งถ้าใครไปค้นคำว่า “โบทูลินัม” ดู ก็จะพบว่าเป็นชื่อของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งคือ คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษแก่มนุษย์           คำว่า “ท็อกซิน” นั้นแปลตรงตัวว่า “สารพิษ” แต่ว่าคำนี้เป็นคำกลางๆ นะคะ กล่าวคือ อาจจะเป็นสารพิษต่อมนุษย์หรือไม่ก็ได้ เช่น สารพิษบางอย่างเป็นพิษต่อแมลงบางชนิด แต่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ในกรณีนี้ก็เรียกสารดังกล่าวว่า “ท็อกซิน” ได้เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า “เอ” นั้นระบุว่า [...]

โบท็อกซ์ (Botox)2024-04-12T14:05:13+00:00

ULTRAFORMER III นวัตกรรมยกกระชับผิวและปรับรูปหน้า

2024-04-12T14:08:42+00:00

ULTRAFORMER III นวัตกรรมยกกระชับผิวและปรับรูปหน้า สำหรับผู้มีปัญหาผิวหนังบนใบหน้าและลำคอหย่อนคล้อย และผู้ที่ต้องการปรับรูปหน้าให้เรียวขึ้น FAQ :คำถามที่พบบ่อย MMFU (Micro&Macro Focused Ultrasound) เหมาะกับใคร ? เหมาะกับผู้มีปัญหาผิวหนังบนใบหน้าและลำคอหย่อนคล้อย คิ้วตก หนังตาตก ขอบตาล่างหย่อนยาน แก้มหย่อนคล้อย ร่องแก้มลึกมุมปากตก มีเนื้อใต้คางเป็นชั้นๆ และยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการปรับรูปหน้าให้เรียวขึ้น โดยที่ไม่ต้องการทำศัลยกรรมยกกระชับใบหน้า นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการกระชับสัดส่วนลดไขมันในบริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ท้องแขน ต้นขา บริเวณ Bra Line,Love Handle บริเวณรอบหัวเข่า เป็นต้น ทำไมต้องเลือก ULTRAFORMER IIl with MMFU Technology ? เพราะเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาล่าสุด เป็นรุ่นที่ 3rd ของกลุ่ม Focused Ultrasound มีความเสถียรของการปล่อยพลังงาน สามารถปล่อยหลังงานแบบ High peak [...]

ULTRAFORMER III นวัตกรรมยกกระชับผิวและปรับรูปหน้า2024-04-12T14:08:42+00:00

ต่อมทอนซิลอักเสบ…รู้สาเหตุ…รู้แนวทางรักษา (Tonsillitis)

2024-04-12T11:06:00+00:00

สัญญาณเตือนจาก ต่อมทอนซิลอักเสบ  (Tonsillitis)  ต่อมทอนซิลอักเสบ อาการ เจ็บคอ ที่ต้องระวัง !      ทอนซิล หรือต่อมทอนซิล (Tonsils) เป็นเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งที่ภายในมีเม็ดเลือดขาวอยู่หลายชนิด ต่อมทอนซิลอยู่บริเวณผนังช่องคอด้านหลังทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ในการดักจับ และกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารส่วนต้น ต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณต่อมทอนซิล โดยเชื้อก่อโรคที่ พบได้บ่อยตามลำดับ คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรืออาจเกิดจากไวรัสชนิดอื่นๆ ได้ โดยอาการของต่อมทอนซิลอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักจะมีอาการ ไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูกใส คัดจมูก ไอ จาม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวได้ เชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง เจ็บคอมาก กลืนเจ็บ กลืนลำบาก อาจมี อาการเจ็บร้าวไปที่หูร่วมด้วย โดยถ้าหากผู้ป่วยมาพบแพทย์แล้วได้รับการตรวจ วินิจฉัย ก็จะพบว่าที่ผนังคอหอยและต่อมทอนซิลมีลักษณะแดงและพบจุดหนอง ที่ต่อมทอนซิลได้ ส่วนในผู้ป่วยเด็กจะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนน้ำลายไม่ได้ ทำให้ตรวจพบว่ามีน้ำลายไหลออกมาด้านนอกได้บ่อย ส่วนอาการร่วมอื่นๆ ที่ พบได้จากการที่เป็นทอนซิลอักเสบ คือ ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอโตและกดเจ็บ เชื้อรา อาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ [...]

ต่อมทอนซิลอักเสบ…รู้สาเหตุ…รู้แนวทางรักษา (Tonsillitis)2024-04-12T11:06:00+00:00

โรคอ้วนกับปัญหาการนอนหลับ

2023-09-13T16:37:47+00:00

          ภาวะอ้วนในประชากรภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก คือการที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป ภาวะอ้วนนี้สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรค ผู้ป่วยโรคอ้วนจะมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติตามอวัยวะต่างๆ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพและเกิดโรคเรื้อรังหลายประเภท เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและกลุ่มอาการอ้วนหายใจต่ำได้           ผู้ป่วยโรคอ้วนจะมีไขมันสะสมบริเวณช่องคอและทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่าปกติ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลง แต่ในขณะตื่นกลุ่มกล้ามเนื้อคอหอยซึ่งมีหน้าที่ขยายช่องคอทำงานชดเชยได้จึงไม่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนนี้ เมื่อนอนหลับกล้ามเนื้อจะเกิดการคลายตัว การทำงานชดเชยของกล้ามเนื้อขยายช่องคอทำได้ไม่เพียงพอทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบขณะหลับ เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea, OSA) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาในระยะยาวก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ และโรคอื่น ๆ รวมถึงมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย โดยพบว่าความรุนแรงของโรคมักจะเพิ่มขึ้นตามดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้น และเมื่อผู้ป่วยลดน้ำหนักได้ความรุนแรงของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นก็มักจะลดลง           นอกจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นแล้ว ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนมากขึ้น จะทำให้ร่างกายต้องใช้แรงมากขึ้นเพื่อขยายทรวงอกในการหายใจ ส่งผลให้กลศาสตร์ของระบบการหายใจแย่ลง [...]

โรคอ้วนกับปัญหาการนอนหลับ2023-09-13T16:37:47+00:00

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา

2023-04-25T15:46:05+00:00

          จอประสาทตา เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่ช่วยในการมองเห็น และมีโรคทางจอประสาทตาค่อนข้างมาก ซึ่งต้องอาศัยการผ่าตัดรักษาจอประสาทตาด้วยวิธีผ่าตัดน้ำวุ้นตา ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดจอประสาทตา เป็นโรคจอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก โรคจอประสาทตาลอกจากพังผืดดึงรั้ง เช่น ในคนที่เป็นเบาหวานขึ้นจอตา จุดรับภาพที่จอประสาทตาเป็นรู (Macular hole) พังผืดที่จุดรับภาพ เลือดออกในน้ำวุ้นตา มีการติดเชื้อในลูกตาและน้ำวุ้นตา หรือการอักเสบในน้ำวุ้นตา มีสิ่งแปลกปลอมในลูกตาส่วนหลังจากอุบัติเหตุ เช่น เศษเหล็ก เศษแก้ว เลนส์ตาหรือเลนส์แก้วตาเทียมเคลื่อนไปลูกตาส่วนหลัง การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ทานยารักษาโรคประจำตัวของตนเองได้ตามปกติ ยกเว้นยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน หรือยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดอื่นๆ ต้องงดก่อนผ่าตัด 7 วันหรือตามแพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ มีเสมหะ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือแพทย์เจ้าของไข้ทราบก่อนผ่าตัด ควรสระผมให้สะอาดก่อนวันผ่าตัด ในวันที่ผ่าตัด ให้ล้างหน้า และห้ามทาครีมหรือโลชั่นที่ใบหน้า ห้ามใช้เจลทาผม และให้ถอดเครื่องประดับทุกชนิด และฟันปลอมก่อนเข้าห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดในตาข้างที่จะผ่าตัด โดยการเช็ดตาและหยอดยาขยายม่านตา ถ้าการได้ยินไม่ดี ควรนำเครื่องช่วยฟังเข้าห้องผ่าตัดด้วย ถ้าปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ควรใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเข้าห้องผ่าตัด (กรณีผ่าตัดแบบไม่ดมยาสลบ) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้ดมยาสลบ [...]

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา2023-04-25T15:46:05+00:00

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตา

2023-04-24T11:03:28+00:00

การฉีดยาเข้าวุ้นตา           เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาโรคในดวงตาดีขึ้นกว่าในอดีตมาก การฉีดยาเข้าวุ้นตา สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับจอตา ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดผิดปกติที่จอตา และจอตาบวมจากสาเหตุต่างๆ เช่น จุดภาพชัดเสื่อมในผู้สูงอายุ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา หลอดเลือดต่ำที่จอตาอุดตัน เป็นต้น โดยยาฉีดเข้าวุ้นตา ออกฤทธิ์ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของหลอดเลือดผิดปกติ ช่วยลดการรั่วซึมของผนังหลอดเลือด และลดการบวมของจอตา บริเวณจุดภาพชัด จึงช่วยให้ระดับการมองเห็นดีขึ้น ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนฉีดยา พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันฉีดยา ทานยาโรคประจำตัวตามปกติ ไม่ต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือด วัดสายตาเบื้องต้น วัดความดันตาและวัดความดันโลหิต หยอดยาขยายม่านตาข้างที่ฉีดยาหรือตามคำสั่งแพทย์ พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจตา รับฟังคำอธิบาย ขั้นตอนการฉีดยาเข้าวุ้นตา ผู้ป่วยเซ็นชื่อยินยอมรับการรักษาโดยการฉีดยาเข้าวุ้นตา พร้อมพยานเซ็นรับทราบ พยาบาลหยอดยาชาข้างที่จะรับการฉีดยา การปฏิบัติตัวขณะฉีดยา จักษุแพทย์จะทำการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยวิธีการปราศจากเชื้อ เริ่มจากทาน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณเปลือกตาข้างที่จะฉีดจากนั้นคลุมหน้าด้วยผ้าปราศจากเชื้อ ผู้ป่วยนอนบนเตียงนิ่งๆ ห้ามเอามือจับผ้าที่คลุมหน้า แพทย์จะฉีดยาเข้าที่บริเวณเนื้อเยื่อตาขาวห่างจากขอบตาดำประมาณ 3- 4 มิลลิเมตร ขณะแพทย์ฉีดยา ให้กลอกตาตามที่แพทย์บอกไม่ควรบีบตา หรือกลอกตาไปมา ควรให้ตาอยู่นิ่งที่สุด หลังฉีดยา ผู้ป่วยบางรายจะได้รับการปิดตาตามแพทย์สั่ง และสามารถเปิดตาได้เมื่อกลับถึงบ้าน การปฏิบัติตัวหลังฉีดยาเข้าวุ้นตา     [...]

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตา2023-04-24T11:03:28+00:00

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy)

2023-04-21T16:15:47+00:00

เบาหวานขึ้นจอตาคืออะไร           ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอตาด้วย เลือดและสารต่างๆ จะรั่วซึมออกจากหลอดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ และทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ตามความรุนแรงของโรค คือ ระยะที่ยังไม่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่ และ ระยะที่มีการสร้างหลอดเลือดใหม่           ผู้ป่วยที่มีเบาหวานขึ้นจอตา ในระยะแรก มักไม่รู้สึกผิดปกติใดๆ เมื่อตรวจตาอาจพบจุดเลือดออกที่จอตา หากมีการรั่วซึมของหลอดเลือด จะพบจอตาบวม และเริ่มมีอาการตามัว หากโรคลุกลามมากขึ้น จนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจะทำให้เกิดภาวะจอตาขาดเลือด ซึ่งจะกระตุ้น ให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ (Neovascularization) หลอดเลือดเหล่านี้ มีลักษณะเปราะและแตกง่าย ทำให้เกิดเลือดออกในตาและเกิดพังผืดดึงรั้งจอตา ผู้ป่วยมักมีสายตาแย่ลงอย่างมาก ทั้งจากเลือดออกและจากพังผืดดึงรั้งจอตาจนเกิดจอตาลอก อาการตามัว อาจเกิดจากการบวมบริเวณจุดภาพชัด (Macular edema) ซึ่งเกิดจากน้ำและไขมันรั่วออกจากหลอดเลือด จุดภาพชัดเป็นบริเวณสำคัญที่ใช้ในการมองภาพ ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติบริเวณนี้จึงส่งผลต่อการมองเห็นอย่างมาก ในรายที่เป็นรุนแรงหลอดเลือดบริเวณจุดภาพชัด อาจเกิดการอุดตันทำให้เกิดภาวะจุดภาพชัดขาดเลือด (Macular ischemia) ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ทราบได้อย่างไรว่ามีเบาหวานขึ้นจอตา     [...]

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy)2023-04-21T16:15:47+00:00