Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก(Hemifacial spasm)

2023-04-10T14:14:54+00:00

          โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก คือโรคทางระบบประสาทที่มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของใบหน้าโดยเป็นครึ่งซีก เกิดจากการที่มีการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ถูกควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เคลื่อนที่ผิดปกติไป มีลักษณะแบบเกร็งกระตุกเป็นระยะโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้แม้กระทั่งตอนนอนหลับก็คงยังกระตุกอยู่ อาจเป็นสาเหตุที่รบกวนการนอนหลับในผู้ป่วยบางราย ลักษณะของใบหน้ากระตุกครึ่งซีก           อาจเริ่มต้นกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาก่อนโดยมีการเกร็งกระตุกเป็นระยะเมื่อการดำเนินโรคเป็นมากขึ้นจะมีการกระตุกที่มุมปากข้างเดียวกันจนอาจทำให้มีลักษณะตาปิดร่วมกับมีปากเบี้ยวข้างเดียวกันเป็นพักๆได้ สาเหตุของใบหน้ากระตุกครึ่งซีก อาจเกิดตามหลังจากประสาทสมองคู่ที่ 7 มีการอักเสบ (Bell’s palsy) หรือ ได้รับอุบัติเหตุ เกิดจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ถูกกดเบียดโดยเส้นเลือดที่อยู่ชิดกันบริเวณก้านสมอง เกิดจากเนื้องอกบริเวณก้านสมองไปกดทับประสาทสมองคู่ที่ 7 และ 8 ทำให้มีใบหน้ากระตุกร่วมกับการได้ยินลดลง โรคของปลอกหุ้มประสาทสมองส่วนกลางอักเสบ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการรักษา การรับประทานยา ใช้ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น clonazepam เพื่อลดการกระตุกโดยพบว่ามีประสิทธิผลเพียง 30% แต่มักจะมีผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอน อาจไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้ปกติ การผ่าตัดเพื่อแยกส่วนของหลอดเลือดที่กดทับประสามสมองคู่ที่ 7 ออกจากกันถือเป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงเนื่องจากอาจเกิดผลแทรกซ้อน เช่น การได้ยินลดลง ปากเบี้ยว มีเลือดออกที่ก้านสมอง เป็นต้น การฉีดยา [...]

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก(Hemifacial spasm)2023-04-10T14:14:54+00:00

Anal Fistula หรือ ฝีคัณฑสูตร

2023-07-18T10:06:13+00:00

            ฝีคัณฑสูตร “โรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง” โรคที่คนมักเข้าใจผิดคิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นโรคริดสีดวงทวารและพยายามรักษาด้วยตัวเองอย่างผิดวิธี ฝีคัณฑสูตรเป็นโรคทางทวารที่ถือเป็นโรคติดเชื้อแบบเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อไม่ให้โรคลุกลามและรุนแรง อาการสังเกตของฝีคัณฑสูตร คลำเจอตุ่มที่ก้น เจ็บปวด บวม คันรอบทวาร น้ำเหลืองซึม มีเลือดและหนอง ไหลจากแผล เป็นๆ หายๆ             เบื้องต้นยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคฝีคัณฑสูตรที่แน่ชัด อาจทำได้เพียงการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ แพทย์จึงมักแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำให้เพียงพอและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค                                                       [...]

Anal Fistula หรือ ฝีคัณฑสูตร2023-07-18T10:06:13+00:00

การรักษาริดสีดวงทวาร ด้วย Laser

2023-08-20T09:50:21+00:00

          เลเซอร์ คืออีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาริดสีดวงทวาร ที่เห็นผลไว หายเร็ว พักฟื้นไม่นาน อาการริดสีดวงทวาร ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดแดงสด คลำเจอก้อนบริเวณทวารหนัก มีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักขณะถ่ายอุจจาระ และยุบกลับเข้าไปในทวารได้เอง ปวดก้นและคลำเจอก้อน คันหรือระคายเคืองบริเวณทวารหนัก ข้อดีของการรักษาริดสีดวงทวารด้วยเลเซอร์ ผลข้างเคียงน้อย เจ็บน้อย หายไว พักฟื้นไม่นาน (ประมาณ 1-2 วัน) ภายหลังการรักษาดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน           ริดสีดวงทวาร มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ การรักษาริดสีดวงทวารมีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยา การผ่าตัดแบบธรรมดา การผ่าตัดด้วยเครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ (Staple) และการรักษาด้วยเลเซอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยและประเมินการรักษาโดยศัลยแพทย์ หรือศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก    

การรักษาริดสีดวงทวาร ด้วย Laser2023-08-20T09:50:21+00:00

โลหิตจาง รู้ไว้…ไม่ซีด

2023-02-15T16:37:59+00:00

  โลหิตจาง รู้ไว้...ไม่ซีด           โลหิตจาง หรือภาวะซีด เกิดจากการที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติจะส่งผลเสียต่อร่างกาย อาทิ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือวูบ หมดสติ ขั้นรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้ 3 สาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลหิตจาง ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง ภาวะขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี12 เป็นต้น ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้ เป็นผลจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆ การรักษาด้วยรังสี ยาบางชนิด โรคไขกระดูกฝ่อ การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรค SLE ร่างกายมีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากเกินไป เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic Anemia) โรคธาลัสซีเมีย อาจมีภาวะโลหิตจาง ร่วมกับอาการเหลือง ซีด ม้ามและตับโต ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD การเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการตกเลือด เกิดจากการเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากการเป็นประจำเดือน เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะ เมื่อสงสัยว่าโลหิตจาง   [...]

โลหิตจาง รู้ไว้…ไม่ซีด2023-02-15T16:37:59+00:00

ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมีอะไรกันบ้าง?

2022-10-04T13:09:26+00:00

ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมีอะไรกันบ้าง? #health #healthy #tiktokuni #dentalassistant #dentalhygiene #hospital #teethcare #teethcleaning #healthcare ด้วยความห่วงใยจาก💞 ศูนย์ทันตกรรมเที่ยงคืน ติดต่อแผนกทันตกรรม 📱020227678 ติดต่อแผนก Call Center เวลา 08.00-17.00 น. 024338222ไลน์👆 https://page.line.me/281vzmch ติดต่อแผนกลูกค้าสัมพันธ์ เวลา 08.00-18.00 น. 📞020227662 ไลน์👆 https://lin.ee/3aPgXQn0C

ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมีอะไรกันบ้าง?2022-10-04T13:09:26+00:00

การรักษาภาวะแพ้อาหารด้วยการรับประทานอาหาร หรือ OIT (Oral Immunotherapy) คืออะไร?

2023-02-15T16:39:22+00:00

การรักษาภาวะแพ้อาหารด้วยการรับประทานอาหาร หรือ OIT (Oral Immunotherapy) คืออะไร? #foodexperim #food #foodcare #hospital #healthy #tiktokuni #edutok #healthcare #herbalife

การรักษาภาวะแพ้อาหารด้วยการรับประทานอาหาร หรือ OIT (Oral Immunotherapy) คืออะไร?2023-02-15T16:39:22+00:00

หูดับเฉียบพลัน โรคเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

2023-02-15T16:39:46+00:00

           หูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss)   อาการดังกล่าวเป็นภาวะการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากประสาทรับเสียงบกพร่องทันทีทันใด พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงทุกช่วงวัย ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหู การติดเชื้อไวรัส เนื้องอกที่ประสาทหู หรืออาจเกิดจากมีความผิดปกติของสมอง โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง อาการของภาวะหูดับเฉียบพลัน สูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน โดยมักเกิดในหูข้างใดข้างหนึ่ง มีเสียงดังรบกวนในหู มีอาการหูอื้อก้อง อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย            หากมีความผิดปกติตามอาการข้างต้นเกิดขึ้น แนะนำให้รีบพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อซักประวัติและรับการตรวจร่างกาย รวมถึงตรวจการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer และตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ การรักษาภาวะหูดับเฉียบพลัน รับประทานยาตามแพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ งดการฟังเสียงดัง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดัง แพทย์ทำการนัดหมายเข้ารับการตรวจติดตามอาการ และตรวจการได้ยินเพื่อประเมินและวางแผนการรักษาในลำดับต่อไป            การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก [...]

หูดับเฉียบพลัน โรคเงียบที่ไม่ควรมองข้าม2023-02-15T16:39:46+00:00

มะเร็งต่อมลูกหมาก

2023-03-17T09:38:27+00:00

กลุ่มเสี่ยง            ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าถ้าบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไปมากขึ้น รวมถึงชายที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีอาการเสี่ยง อาการ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งปัสสาวะมากขึ้น ปัสสาวะไม่พุ่ง เวลาปัสสาวะจะปวด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะมีเลือด หรือมีเลือดปน มีเลือดในน้ำเชื้อ ปวดหลังปวดข้อ หรือมีกระดูกหักได้ง่าย บางรายอาจเป็นอัมพาต จากกระดูกสันหลังหักทับเส้นประสาทได้ นอกจากนั้นอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ร่วมอยู่ด้วย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และเกิดภาวะซีดไม่ทราบสาเหตุ การตรวจเช็กมะเร็งต่อมลูกหมาก            ในผู้ชายที่มีปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มอาการดังกล่าวข้างต้น ควรได้รับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ปีละ 1 ครั้ง ดังนี้ รับการตรวจทางทวารหนักจากแพทย์ โดยแพทย์จะทำการสอดนิ้วเข้าทางทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมาก เจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) มะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งอาการของโรคออกเป็นได้ 4 ระยะ ระยะที่ 1 [...]

มะเร็งต่อมลูกหมาก2023-03-17T09:38:27+00:00

การนอนกรน ZZZ… ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

2023-09-13T16:38:14+00:00

           การนอนกรนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการนอนกรน จนกระทั่งมีคนอื่นมาบอก การนอนกรนมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย และจะนำมาซึ่งโรคแห่งความเสื่อมหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดในสมอง อัลไซเมอร์ และความจำเสื่อม เป็นต้น จึงมีการศึกษาถึงสาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับตามปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ซึ่งเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องลำคอ หย่อนยาน จนตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย โครงสร้างทางเดินหายใจแคบลงจากภาวะต่างๆ เช่น ต่อมทอนซิลโตมาก ผนังกั้นจมูกคด ลิ้นโตผิดปกติ เพดานอ่อน ลิ้นไก่หย่อนยาน เป็นต้น โรคอ้วน เนื่องจากไขมันจะกระจายอยู่รอบๆ ทางเดินหายใจช่วงบน เวลาที่นอนลง เกิดน้ำหนักกดทับ ทำให้ช่องคอแคบลง กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง จนเกิดการหยุดหายใจได้ เพลียจากการออกกำลังกายอย่างหนักหรือการดื่มสุรา เพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิดหมดแรงไปด้วย จึงเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น            ปัจจุบันวงการแพทย์หันมาสนใจศึกษาและคิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาอาการนอนกรนกันมากขึ้น โดยการแนะนำให้สังเกตอาการด้วยตนเองก่อนปรึกษาแพทย์ [...]

การนอนกรน ZZZ… ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม2023-09-13T16:38:14+00:00