Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

6 วิธีดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อเป็นไข้หวัด

2023-02-15T16:42:48+00:00

          รพ.เจ้าพระยา มีเกร็ดความรู้ดีๆ มาฝากคุณแม่เพื่อดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้หวัดด้วย 6 วิธีง่ายๆมาฝากกันค่ะ เด็กเล็กเป็นหวัดได้นานถึง 10 วันกว่าจะหาย           โชคร้ายที่ไม่มีทางแก้แบบทันทีได้ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรง มีแค่น้ำมูกหรือไอเล็กน้อย อาจใจเย็นๆ คุณอาจให้นมมื้อพิเศษเพื่อปลอบใจและให้ลูกได้รับน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าเด็กกินข้าวได้น้อย  ถ้าลูกหายใจไม่สะดวกจนเกิดเสียงดังครืดคราด ให้เอาผ้าขนหนู ชุบน้ำวางข้างๆ เพื่อให้อากาศภายในห้องชื้นมากขึ้นและหายใจสะดวก ถ้าตอนกลางคืนลูกมีอาการกระสับกระส่าย อาจใช้น้ำเกลือหยอดจมูกจะช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น ถ้าลูกส่งเสียงครืดคราดเหมือนเสียงกรนขณะหายใจหรือไอ           ลูกอาจกำลังเป็นโรคคอตีบเทียมหรือครู้ป (Croup) ซึ่งเป็นอาการอักเสบของทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส เริ่มแรกอาการจะคล้ายไข้หวัด ต่อมาจะมีอาการไอเสียงแหบหายใจลำบาก เสียงเหมือนกรน มักเป็นมากในตอนกลางคืน ให้ลองจับลูกนั่งตัวตรง ทำให้ลูกสงบ อย่างไรก็แล้วแต่หากสงสัยว่าลูกอาจกำลังเป็นโรคคอตีบเทียม ให้พาแพทย์ทันที เพราะในเด็กเล็ก ทางเดินหายใจอาจบวมจนตีบแคบ ทำให้หายใจไม่ออกได้ ลูกอาเจียนตอนกำลังไอหรือเป็นหวัด         [...]

6 วิธีดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อเป็นไข้หวัด2023-02-15T16:42:48+00:00

PM 2.5 คู่ปรับภูมิแพ้

2023-02-15T16:43:37+00:00

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?           ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากเพียง 2.5 ไมครอน ทำให้ฝุ่นนี้สามารถเข้าจมูกไปยังหลอดลมใหญ่จนถึงหลอดลมขนาดเล็กในปอดได้ ฝุ่น PM 2.5 มีผลต่อโรคภูมิแพ้อย่างไร ผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น มีอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหลมากขึ้น ผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น มีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจติดขัด รวมถึงหายใจมีเสียงวี๊ดได้ ผลต่อระบบผิวหนัง โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ผิวหนังอยู่เดิม จะทำให้เกิดอาการกำเริบ มีผื่นแดงขึ้นตามตัวมากขึ้นได้ วิธีการรักษา การล้างจมูก เพื่อเป็นการชะล้างเอาฝุ่น PM2.5 ที่เกาะอยู่บนผนังจมูกออกไป ควรใช้ยารักษาภูมิแพ้ที่รักษาอยู่เดิมอย่างต่อเนื่อง เช่น  การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก หรือ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นทางปากสำหรับโรคหอบหืด เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม และเริ่มการรักษา การป้องกัน การใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน โดยหน้ากากที่ป้องกันฝุ่น PM 2.5ได้ [...]

PM 2.5 คู่ปรับภูมิแพ้2023-02-15T16:43:37+00:00

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

2021-02-04T11:17:34+00:00

           โรค IBS เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของลำไส้ โดยที่ไม่มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพของอวัยวะใดมักมีอาการ ปวดท้อง หรือไม่สบายท้อง มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ท้องผูก หรือท้องเสียง่าย รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด มีมูกปนกับอุจจาระ ท้องอืด มีลมในท้อง              โรค IBS ไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิต ไม่ใช่สาเหตุของมะเร็ง แต่เป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคประมาณ 4.6-6.8% พบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าถึง 2.4 เท่า สาเหตุของโรคเกิดจากสมมุติฐานดังต่อไปนี้ การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง ช้ากว่าปกติ ทำให้ท้องผูก หรือเร็วกว่าปกติ ทำให้ท้องเสีย ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ [...]

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)2021-02-04T11:17:34+00:00

การให้วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)

2020-11-09T10:34:42+00:00

"วัคซีนภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)" อีกหนึ่งทางออกของคนเป็น "โรคภูมิแพ้"            "วัคซีนภูมิแพ้" สามารถให้ในผู้ใหญ่และเด็กในอายุ 5 ปีเป็นต้นไป            การให้วัคซีนภูมิแพ้  คือการให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปสู่ร่างกาย เริ่มจากปริมาณน้อยและปรับเพิ่มปริมาณขึ้นจนถึงขนาดที่ใช้ในการรักษา โดยให้ซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ลดลงและร่างกายทนต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการหรือปฏิกิริยาภูมิแพ้ลดลงเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้น "ในช่วงระยะเวลา 20-30 ปี ที่ผ่านมาอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย"   ขั้นตอนและระยะเวลาการรับวัคซีนภูมิแพ้            ระยะเริ่มต้นให้วัคซีนภูมิแพ้ โดยเริ่มจากขนาดความเข้มข้นต่ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หลังจากนั้นจะเว้นห่างออกเป็นทุก 2 สัปดาห์ 3 สัปดาห์ และเดือนละครั้ง รวมทั้งสิ้น 3-5 ปี ซึ่งการปรับเพิ่มขนาดความเข้มข้นขึ้นจนถึงขนาดที่ใช้ในการรักษา โดยการปรับเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความไวของผู้ป่วยต่อวัคซีนภูมิแพ้ ประวัติการเกิดอาการแพ้หลังได้รับวัคซีนครั้งก่อน เป็นต้น การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้เหมาะกับใคร ผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ [...]

การให้วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)2020-11-09T10:34:42+00:00

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)

2020-09-28T14:05:26+00:00

ภาวะไตวายเฉียบพลันคือ ภาวะที่ไตสูญเสียหรือทำหน้าที่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือวัน และอยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน อาการของภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะออกลดลง บวม เหนื่อยง่าย สับสน ซึมลง หัวใจเต้นผิดปกติ สาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ, ภาวะเลือดออก, ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น ภาวะไตบาดเจ็บโดยตรง เช่น การได้ยาที่มีพิษต่อไต, การได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือด, โรคไตอักเสบ เป็นต้น ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่นภาวะนิ่ว, โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไตวายเฉียบพลัน การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติ ปรับขนาดยาตามการทำงานของไตที่ลดลง หลีกเลี่ยงการฉีดสารทึบรังสีหรือยาที่มีผลเสียต่อไตที่ไม่มีความจำเป็น การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต กรณีที่มีอาการสารน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต  

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)2020-09-28T14:05:26+00:00

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

2023-04-05T14:30:35+00:00

           ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของมนุษย์ ก็คือ โรคหัวใจ   ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด  ยิ่งในยุคสมัยนี้ การดำรงชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่จะทำงานนั่งโต๊ะ  ขาดการออกกำลังกาย  กินอาหารจานด่วน  บางคนก็อ้วนพุงโต  เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงทั้งสิ้น  ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆก็เช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง  การสูบบุหรี่  มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่อายุน้อย  ถ้าผู้ใดมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมองตีบก็จะสูงไปด้วย  นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้นก็จะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบมากขึ้นด้วย ปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อายุที่มากขึ้น เพศชาย ประวัติของโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ เบาหวาน การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง ความเครียด อาการแสดง            อาการที่ชวนสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็คือ  อาการเจ็บแน่น เหมือนมีของหนักๆมาทับ [...]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด2023-04-05T14:30:35+00:00

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

2023-03-24T11:28:45+00:00

          ภาวะน้ำหนักตัวเกิน อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาของใครหลายคน ขอแค่ได้มีความสุขกับการกินเป็นพอ แต่ในผู้หญิงที่น้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนต้องระวัง เพราะคุณกำลังเสี่ยงเป็น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) เป็นอาการผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุ 18-35 ปี ที่มีสาเหตุจากรังไข่สร้างฮอร์โมนผิดปกติและพบว่ามีระดับอินซูลินในเลือดมากกว่าปกติด้วย หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการตามมา ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรงถุงน้ำรังไข่หลายใบ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของแพทย์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงจากความเครียด น้ำหนักตัวเกิน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อ้วนลงพุง...คุณคือกลุ่มเสี่ยง

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ2023-03-24T11:28:45+00:00

วัคซีน…น่ารู้

2020-09-09T09:38:32+00:00

           จากสภาวะโลกในปัจจุบัน ภาวะโลกร้อน การคมนาคมที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของโลกให้ใกล้กันในชั่วพริบตา มีส่วนทำให้การกระจายของโรคติดเชื้อต่างๆ เพิ่มขึ้น รวดเร็วขึ้น แพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้นเช่น โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 รวมถึงเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ระบาดอยู่ในช่วงนี้ โรคติดเชื้อหลายชนิดป้องกันได้ด้วยวัคซีน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กๆ ทั่วโลกควรได้รับวัคซีน เด็กไทยทุกคนก็เช่นเดียวกัน ควรได้รับวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานโรคโดยมีการกำหนดวัคซีนพื้นฐานจากภาครัฐอันได้แก่ วัคซีนบีซีจี วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ วัคซีนโปลิโอ วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี โดยสามารถขอรับบริการได้จากโรงพยาบาลภาครัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีวัคซีนทางเลือกอีกหลายชนิดที่ผู้ปกครองสามารถเสริมให้กับบุตรหลานของท่านได้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นๆ ป้องกันการเกิดโรคเมื่อได้รับเชื้อหรือลดความรุนแรงในการเกิดโรคได้ อาทิเช่น วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น วัคซีนฮิบ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต วัคซีนโรต้า วัคซีนเอชพีวี            บทความนี้ใคร่ขอนำเสนอรายละเอียดของวัคซีนอีสุกอีใส เพื่อให้ท่านผู้ปกครองเป็นข้อมูลพิจารณาเสริมกับบุตรหลานของท่าน เนื่องจากอีสุกอีใสเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก [...]

วัคซีน…น่ารู้2020-09-09T09:38:32+00:00

ภัยเงียบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน

2020-08-11T08:36:07+00:00

           ใครจะคิดว่าปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิตลำดับต้นๆ จะเป็นจากกระดูกสะโพกหัก และสาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกสะโพกในผู้สูงอายุหักมาจากภาวะกระดูกพรุน            ภาวะกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกพรุน คือโรคที่มวลของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักตามมา โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกบริเวณข้อมือ            ปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดปัญหากระดูกพรุน หรือ Osteoporosis ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยจะพบปัญหาในหญิงมากกว่าชาย เพราะในหญิงจะมีการลดลงของมวลกระดูกเป็นอย่างมากในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากวัยและเพศแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายทั้งยา อาหารและสารเคมี ซึ่งสามารถกล่าวรวมๆ ได้ว่าเกิดจากการสะสมของมวลกระดูกได้น้อย หรือการสูญเสียมากกว่าปกติ สรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้            อันตราย ..... ! [...]

ภัยเงียบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน2020-08-11T08:36:07+00:00

โรคหืด โรคที่มักถูกละเลย (Asthma)

2020-08-14T16:26:17+00:00

           โรคหืด หรือบางคนเรียกว่าโรคหืดหอบนั้น เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งเริ่มต้นมักไม่มีอาการใดๆ ต่อมาจะเริ่มมีอาการ ไอ หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม มีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ เหนื่อยง่ายมากขึ้น ทำไมถึงถูกละเลย มีหลายเหตุผลที่โรคหืดถูกละเลยดังนี้ อาการเป็นพักๆ ไม่ได้เป็นตลอด บางครั้งมีแค่อาการไอนานๆ หลังจากการเป็นหวัด ระยะเริ่มแรกในผู้ใหญ่บางราย แค่ออกกำลังแล้วเหนื่อยเร็วขึ้น เข้าใจว่าหืดเป็นในเด็กเพียงอย่างเดียว            โรคหืดเป็นโรคที่พบได้บ่อย อุบัติการณ์ในประเทศไทยมีถึง 7% คนไทย 100 คน พบโรคหืดได้ถึง 7 คน และพบมากใน 2 ช่วงอายุ คือ วัยเด็ก และ วัยกลางคน โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติโรคหืดในวัยเด็กมาก่อนเลย  ในปัจจุบันแนวโน้มโรคหืดเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ใครบ้างที่ควรสงสัยว่าเป็นหืด คนที่มีอาการดังต่อไปนี้ ไอบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ, ไอนานหลังเป็นหวัด, เหนื่อยง่ายมากขึ้น, รู้สึกเสมหะเยอะ, ไอตอนกลางคืน หรืออากาศเย็น, มีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ [...]

โรคหืด โรคที่มักถูกละเลย (Asthma)2020-08-14T16:26:17+00:00