Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

About admin1

This author has not yet filled in any details.
So far admin1 has created 138 blog entries.

CHAOPHYA COVID-19 DRIVE-THRU

2022-04-08T15:20:41+00:00

CHAOPHYA COVID-19 DRIVE-THRU ลงทะเบียนจองออนไลน์ 08:00 – 15:00 น. ทุกวันทำการ (จันทร์-ศุกร์ ไม่รวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียนง่ายๆได้ที่ : ลงทะเบียน รอรพ.ส่ง SMS ยืนยันนัดหมายเข้ารับบริการ ขั้นตอนที่ 2 เข้ารับการตรวจ ให้บริการ ณ โรงพยาบาล เพียงขับรถหรือนั่งรถส่วนตัวโดยไม่ต้องลงจากรถ แจ้ง รปภ.ป้อมหน้า รพ. ว่ามารับการตรวจ COVID-19 DRIVE-THRU แจ้งชื่อนามสกุล และแสดงบัตรประชาชนยืนยันตัวตน ณ จุดตรวจ COVID-19 DRIVE-THRU ลดกระจกเพื่อเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกและคอ ส่งให้ห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 3 รอฟังผลตรวจที่บ้าน [...]

CHAOPHYA COVID-19 DRIVE-THRU2022-04-08T15:20:41+00:00

มะเร็งต่อมลูกหมาก

2023-03-17T09:38:27+00:00

กลุ่มเสี่ยง            ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าถ้าบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไปมากขึ้น รวมถึงชายที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีอาการเสี่ยง อาการ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งปัสสาวะมากขึ้น ปัสสาวะไม่พุ่ง เวลาปัสสาวะจะปวด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะมีเลือด หรือมีเลือดปน มีเลือดในน้ำเชื้อ ปวดหลังปวดข้อ หรือมีกระดูกหักได้ง่าย บางรายอาจเป็นอัมพาต จากกระดูกสันหลังหักทับเส้นประสาทได้ นอกจากนั้นอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ร่วมอยู่ด้วย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และเกิดภาวะซีดไม่ทราบสาเหตุ การตรวจเช็กมะเร็งต่อมลูกหมาก            ในผู้ชายที่มีปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มอาการดังกล่าวข้างต้น ควรได้รับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ปีละ 1 ครั้ง ดังนี้ รับการตรวจทางทวารหนักจากแพทย์ โดยแพทย์จะทำการสอดนิ้วเข้าทางทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมาก เจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) มะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งอาการของโรคออกเป็นได้ 4 ระยะ ระยะที่ 1 [...]

มะเร็งต่อมลูกหมาก2023-03-17T09:38:27+00:00

การนอนกรน ZZZ… ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

2023-09-13T16:38:14+00:00

           การนอนกรนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการนอนกรน จนกระทั่งมีคนอื่นมาบอก การนอนกรนมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับร่วมด้วย และจะนำมาซึ่งโรคแห่งความเสื่อมหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดในสมอง อัลไซเมอร์ และความจำเสื่อม เป็นต้น จึงมีการศึกษาถึงสาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับตามปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ซึ่งเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องลำคอ หย่อนยาน จนตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย โครงสร้างทางเดินหายใจแคบลงจากภาวะต่างๆ เช่น ต่อมทอนซิลโตมาก ผนังกั้นจมูกคด ลิ้นโตผิดปกติ เพดานอ่อน ลิ้นไก่หย่อนยาน เป็นต้น โรคอ้วน เนื่องจากไขมันจะกระจายอยู่รอบๆ ทางเดินหายใจช่วงบน เวลาที่นอนลง เกิดน้ำหนักกดทับ ทำให้ช่องคอแคบลง กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง จนเกิดการหยุดหายใจได้ เพลียจากการออกกำลังกายอย่างหนักหรือการดื่มสุรา เพราะจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิดหมดแรงไปด้วย จึงเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น            ปัจจุบันวงการแพทย์หันมาสนใจศึกษาและคิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาอาการนอนกรนกันมากขึ้น โดยการแนะนำให้สังเกตอาการด้วยตนเองก่อนปรึกษาแพทย์ [...]

การนอนกรน ZZZ… ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม2023-09-13T16:38:14+00:00

เปลี่ยน BIG SIZE ให้ SLIM

2021-05-21T09:43:59+00:00

           ประจำเดือนมาไม่ปกติ อ้วนลงพุง มีบุตรยาก เสี่ยงเบาหวาน  โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน ในมุมมองของสูตินรีแพทย์ คือโรคที่เกิดจากการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งวินิจฉัยจาก การคำนวณดัชนีมวลกาย              ผลที่ได้สำหรับเกณฑ์ของคนเอเชียถ้าค่า BMI มากกว่า23 จะจัดอยู่กลุ่มภาวะน้ำหนักตัวเกิน หรืออาจเกินไปจนถึงขั้นจัดอยู่ในกลุ่มของคนที่เป็นโรคอ้วนโดยไม่ทันตั้งตัว อีกวิธีใช้การวัดเส้นรอบเอว หรือใช้เครื่อง Dexa Scan ตรวจวัดเปอร์เซ็นต์ของไขมันในร่างกาย โรคอ้วนก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาเช่น โรค Metabolic Syndrome, โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ, โรคไขมันเกาะตับ, โรคกรดไหลย้อน, โรคซึมเศร้า, จะเห็นได้ว่าโรคที่เกี่ยวเนื่องกับโรคอ้วนพบได้กับทุกๆ อวัยวะของร่างกาย คนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและเหมาะสม            การดูแลรักษาภาวะน้ำหนักเกินตัว หรือโรคอ้วนนั้นอิงตามเกณฑ์ของ BMI เกินกว่า 30 หรือภาวะน้ำหนักตัวเกินที่มี BMI มากกว่า [...]

เปลี่ยน BIG SIZE ให้ SLIM2021-05-21T09:43:59+00:00

ส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่และส่องกล้องดูกระเพาะอาหาร

2022-04-01T10:19:57+00:00

ส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่และส่องกล้องดูกระเพาะอาหาร2022-04-01T10:19:57+00:00

“รักษากระดูก-ข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องผ่า

2023-05-30T13:52:35+00:00

"ข้อเข่าเสื่อม" อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย และพบเจอได้กับคนทั่วโลก           "โรคข้อเข่าเสื่อม" โรคที่มีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการที่แตกต่างกันไม่ว่าจากการบาดเจ็บ หรือความเสื่อม ซึ่งเมื่อเกิดอาการดังกล่าวแล้วไม่ได้รับการรักษา โรคนี้จะส่งผลทางลบและเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินชีวิตในอนาคตได้อย่างแน่นอน ซึ่งปัจจุบันคนทั่วไปยังกังวลใจในขั้นตอนของการรักษาอาการดังกล่าว มองว่าโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความหวาดกลัวไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดใหญ่ เจ็บน้อย เจ็บมาก หรือแผลหายเร็ว แผลหายช้า วันนี้การผ่าตัดจะไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายอีกต่อไป            นพ.ภัคภูวินทร์ ศศิเสรีวิชญ์ แพทย์ประจำกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเจ้าพระยากล่าวว่า โรคข้อเข่าเสื่อมส่วนหนึ่งเกิดจากในข้อเข่าของเราเองมีบางส่วนที่เลือดไปเลี้ยงน้อย ทำให้การซ่อมแซมเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ ส่วนที่สองคือเซลล์ของเราเสื่อมไปตามธรรมชาติ เมื่อเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว มักจะทำให้ผู้ป่วยเดินลำบาก มีอาการปวดมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน ส่งผลต่อภาวะการนอนไม่หลับในผู้ป่วยบางคน ผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้จะมีภาวะความเครียดมาก และมักจะจบลงที่ยาแก้ปวด ซึ่งมีผลข้างเคียงมากมาย           การรักษาแบบส่องกล้อง หรือการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เพื่อเข้าไปกระตุ้นผิวข้อและเติมสารที่มีประโยชน์เข้าไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการดูแลแบบองค์รวม เพื่อทำให้ข้อเข่าของท่านกลับมาอยู่ในภาวะที่สมบูรณ์และใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางเลือกใหม่ของการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมที่จะทำให้ไม่ต้องรู้สึกถึงความกังวลในเรื่องต่างๆ ดังกล่าว ด้วยการรักษาที่ไม่ต้องใช้การผ่าตัด เป็นการรักษาที่ลดความเสี่ยงรุนแรงอันเกิดจากการผ่าตัดได้ [...]

“รักษากระดูก-ข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องผ่า2023-05-30T13:52:35+00:00

2021-03-30T10:23:24+00:00

นพ.ทศพร ม่วงสวย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยา รับมอบประกาศนียบัตรการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล HA National Forum จาก ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 21 ภายใต้แนวคิดหลัก “Enhancing Trust in Healthcare” ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) โดยรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Conference) เมื่อเร็วๆนี้

2021-03-30T10:23:24+00:00

6 วิธีดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อเป็นไข้หวัด

2023-02-15T16:42:48+00:00

          รพ.เจ้าพระยา มีเกร็ดความรู้ดีๆ มาฝากคุณแม่เพื่อดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้หวัดด้วย 6 วิธีง่ายๆมาฝากกันค่ะ เด็กเล็กเป็นหวัดได้นานถึง 10 วันกว่าจะหาย           โชคร้ายที่ไม่มีทางแก้แบบทันทีได้ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรง มีแค่น้ำมูกหรือไอเล็กน้อย อาจใจเย็นๆ คุณอาจให้นมมื้อพิเศษเพื่อปลอบใจและให้ลูกได้รับน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าเด็กกินข้าวได้น้อย  ถ้าลูกหายใจไม่สะดวกจนเกิดเสียงดังครืดคราด ให้เอาผ้าขนหนู ชุบน้ำวางข้างๆ เพื่อให้อากาศภายในห้องชื้นมากขึ้นและหายใจสะดวก ถ้าตอนกลางคืนลูกมีอาการกระสับกระส่าย อาจใช้น้ำเกลือหยอดจมูกจะช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น ถ้าลูกส่งเสียงครืดคราดเหมือนเสียงกรนขณะหายใจหรือไอ           ลูกอาจกำลังเป็นโรคคอตีบเทียมหรือครู้ป (Croup) ซึ่งเป็นอาการอักเสบของทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส เริ่มแรกอาการจะคล้ายไข้หวัด ต่อมาจะมีอาการไอเสียงแหบหายใจลำบาก เสียงเหมือนกรน มักเป็นมากในตอนกลางคืน ให้ลองจับลูกนั่งตัวตรง ทำให้ลูกสงบ อย่างไรก็แล้วแต่หากสงสัยว่าลูกอาจกำลังเป็นโรคคอตีบเทียม ให้พาแพทย์ทันที เพราะในเด็กเล็ก ทางเดินหายใจอาจบวมจนตีบแคบ ทำให้หายใจไม่ออกได้ ลูกอาเจียนตอนกำลังไอหรือเป็นหวัด         [...]

6 วิธีดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อเป็นไข้หวัด2023-02-15T16:42:48+00:00