Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

About admin1

This author has not yet filled in any details.
So far admin1 has created 91 blog entries.

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV

2024-01-02T09:12:36+00:00

มะเร็งในทันใดรู้...ป้องกันได้รู้เร็ว...รักษาหาย

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV2024-01-02T09:12:36+00:00

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

2021-02-04T11:17:34+00:00

           โรค IBS เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของลำไส้ โดยที่ไม่มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพของอวัยวะใดมักมีอาการ ปวดท้อง หรือไม่สบายท้อง มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ท้องผูก หรือท้องเสียง่าย รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด มีมูกปนกับอุจจาระ ท้องอืด มีลมในท้อง              โรค IBS ไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิต ไม่ใช่สาเหตุของมะเร็ง แต่เป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ในประเทศไทยพบอุบัติการณ์ของโรคประมาณ 4.6-6.8% พบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าถึง 2.4 เท่า สาเหตุของโรคเกิดจากสมมุติฐานดังต่อไปนี้ การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง ช้ากว่าปกติ ทำให้ท้องผูก หรือเร็วกว่าปกติ ทำให้ท้องเสีย ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ [...]

โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)2021-02-04T11:17:34+00:00

โปรแกรมเหมาจ่ายวัคซีนเด็ก อายุ 2เดือน ถึง 1ปี

2024-01-11T08:47:11+00:00

โปรแกรมเหมาจ่ายวัคซีนเด็ก อายุ 2เดือน ถึง 1ปี2024-01-11T08:47:11+00:00

การให้วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)

2020-11-09T10:34:42+00:00

"วัคซีนภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)" อีกหนึ่งทางออกของคนเป็น "โรคภูมิแพ้"            "วัคซีนภูมิแพ้" สามารถให้ในผู้ใหญ่และเด็กในอายุ 5 ปีเป็นต้นไป            การให้วัคซีนภูมิแพ้  คือการให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปสู่ร่างกาย เริ่มจากปริมาณน้อยและปรับเพิ่มปริมาณขึ้นจนถึงขนาดที่ใช้ในการรักษา โดยให้ซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ลดลงและร่างกายทนต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการหรือปฏิกิริยาภูมิแพ้ลดลงเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้น "ในช่วงระยะเวลา 20-30 ปี ที่ผ่านมาอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย"   ขั้นตอนและระยะเวลาการรับวัคซีนภูมิแพ้            ระยะเริ่มต้นให้วัคซีนภูมิแพ้ โดยเริ่มจากขนาดความเข้มข้นต่ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หลังจากนั้นจะเว้นห่างออกเป็นทุก 2 สัปดาห์ 3 สัปดาห์ และเดือนละครั้ง รวมทั้งสิ้น 3-5 ปี ซึ่งการปรับเพิ่มขนาดความเข้มข้นขึ้นจนถึงขนาดที่ใช้ในการรักษา โดยการปรับเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความไวของผู้ป่วยต่อวัคซีนภูมิแพ้ ประวัติการเกิดอาการแพ้หลังได้รับวัคซีนครั้งก่อน เป็นต้น การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้เหมาะกับใคร ผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ [...]

การให้วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ (IMMUNOTHERAPY)2020-11-09T10:34:42+00:00

โปรแกรมตรวจหาภาวะเลือดออกและภาวะอักเสบในระบบทางเดินอาหาร

2024-03-29T16:27:05+00:00

***โปรแกรมเหมาจ่าย ทุกโปรแกรมไม่สามารถใช้สิทธิเบิกประกันได้***  

โปรแกรมตรวจหาภาวะเลือดออกและภาวะอักเสบในระบบทางเดินอาหาร2024-03-29T16:27:05+00:00

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)

2020-09-28T14:05:26+00:00

ภาวะไตวายเฉียบพลันคือ ภาวะที่ไตสูญเสียหรือทำหน้าที่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือวัน และอยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน อาการของภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะออกลดลง บวม เหนื่อยง่าย สับสน ซึมลง หัวใจเต้นผิดปกติ สาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ, ภาวะเลือดออก, ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น ภาวะไตบาดเจ็บโดยตรง เช่น การได้ยาที่มีพิษต่อไต, การได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือด, โรคไตอักเสบ เป็นต้น ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่นภาวะนิ่ว, โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไตวายเฉียบพลัน การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติ ปรับขนาดยาตามการทำงานของไตที่ลดลง หลีกเลี่ยงการฉีดสารทึบรังสีหรือยาที่มีผลเสียต่อไตที่ไม่มีความจำเป็น การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต กรณีที่มีอาการสารน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต  

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)2020-09-28T14:05:26+00:00

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

2023-04-05T14:30:35+00:00

           ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของมนุษย์ ก็คือ โรคหัวใจ   ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด  ยิ่งในยุคสมัยนี้ การดำรงชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่จะทำงานนั่งโต๊ะ  ขาดการออกกำลังกาย  กินอาหารจานด่วน  บางคนก็อ้วนพุงโต  เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงทั้งสิ้น  ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆก็เช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง  การสูบบุหรี่  มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่อายุน้อย  ถ้าผู้ใดมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมองตีบก็จะสูงไปด้วย  นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้นก็จะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบมากขึ้นด้วย ปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อายุที่มากขึ้น เพศชาย ประวัติของโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ เบาหวาน การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง ความเครียด อาการแสดง            อาการที่ชวนสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็คือ  อาการเจ็บแน่น เหมือนมีของหนักๆมาทับ [...]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด2023-04-05T14:30:35+00:00

โปรยิ้มสดใส ใส่ใจตรวจสุขภาพดวงตา สำหรับเด็ก

2024-01-02T09:16:10+00:00

ยุคสมัยดิจิตอลอาการต่างๆ ของสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มองจอสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเบลล์ที่ไหลๆ อีกมากมายชั่วโมงการทำงานของเด็ก... ตาล้า... ตาสามารถเกิดได้ ...ตารู้สึกถึงความซ้อน...ปวดหัวหรือเวียนศีรษะ...ปวดคอและไหล่...นี่คืออาการที่ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพดวงตา   ***โปรแกรมเหมาจ่ายทุกโปรแกรมมีสิทธิเรียกร้องประกันได้***

โปรยิ้มสดใส ใส่ใจตรวจสุขภาพดวงตา สำหรับเด็ก2024-01-02T09:16:10+00:00

โปรแกรมตรวจหาพังผืดและไขมันเกาะตับ ด้วยเครื่องมือพิเศษ

2023-12-27T11:55:47+00:00

รู้ผลไว ไม่เจ็บตัว เทคโนโลยีในการตรวจดูภาวะการเกิดพังผืดในตับดูความยืดหยุ่นของตับและภาวะตับแข็ง พร้อมกับความสามารถในการตรวจปริมาณไขมันที่สะสมในตับ เป็นวิธีการตรวจแบบไร้ความเจ็บปวด ไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนเหมือนการตรวจด้วยวิธีเจาะตับ   ใครเสี่ยง? มะเร็งตับ ค่าการทำงานของตับผิดปกติ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ B และ C ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือภาวะอ้วน บุคคลที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ***โปรแกรมเหมาจ่าย ทุกโปรแกรมไม่สามารถใช้สิทธิเบิกประกันได้***

โปรแกรมตรวจหาพังผืดและไขมันเกาะตับ ด้วยเครื่องมือพิเศษ2023-12-27T11:55:47+00:00

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

2023-03-24T11:28:45+00:00

          ภาวะน้ำหนักตัวเกิน อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาของใครหลายคน ขอแค่ได้มีความสุขกับการกินเป็นพอ แต่ในผู้หญิงที่น้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนต้องระวัง เพราะคุณกำลังเสี่ยงเป็น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) เป็นอาการผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุ 18-35 ปี ที่มีสาเหตุจากรังไข่สร้างฮอร์โมนผิดปกติและพบว่ามีระดับอินซูลินในเลือดมากกว่าปกติด้วย หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการตามมา ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรงถุงน้ำรังไข่หลายใบ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของแพทย์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงจากความเครียด น้ำหนักตัวเกิน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อ้วนลงพุง...คุณคือกลุ่มเสี่ยง

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ2023-03-24T11:28:45+00:00