Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

About admin1

This author has not yet filled in any details.
So far admin1 has created 138 blog entries.

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)

2020-09-28T14:05:26+00:00

ภาวะไตวายเฉียบพลันคือ ภาวะที่ไตสูญเสียหรือทำหน้าที่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือวัน และอยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน อาการของภาวะไตวายเฉียบพลัน ปัสสาวะออกลดลง บวม เหนื่อยง่าย สับสน ซึมลง หัวใจเต้นผิดปกติ สาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ, ภาวะเลือดออก, ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น ภาวะไตบาดเจ็บโดยตรง เช่น การได้ยาที่มีพิษต่อไต, การได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือด, โรคไตอักเสบ เป็นต้น ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่นภาวะนิ่ว, โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไตวายเฉียบพลัน การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติ ปรับขนาดยาตามการทำงานของไตที่ลดลง หลีกเลี่ยงการฉีดสารทึบรังสีหรือยาที่มีผลเสียต่อไตที่ไม่มีความจำเป็น การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต กรณีที่มีอาการสารน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต  

ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury)2020-09-28T14:05:26+00:00

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

2023-04-05T14:30:35+00:00

           ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของมนุษย์ ก็คือ โรคหัวใจ   ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด  ยิ่งในยุคสมัยนี้ การดำรงชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่จะทำงานนั่งโต๊ะ  ขาดการออกกำลังกาย  กินอาหารจานด่วน  บางคนก็อ้วนพุงโต  เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงทั้งสิ้น  ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆก็เช่น  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง  การสูบบุหรี่  มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่อายุน้อย  ถ้าผู้ใดมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมองตีบก็จะสูงไปด้วย  นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้นก็จะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบมากขึ้นด้วย ปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อายุที่มากขึ้น เพศชาย ประวัติของโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ เบาหวาน การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง ความเครียด อาการแสดง            อาการที่ชวนสงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็คือ  อาการเจ็บแน่น เหมือนมีของหนักๆมาทับ [...]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด2023-04-05T14:30:35+00:00

โปรยิ้มสดใส ใส่ใจตรวจสุขภาพดวงตา สำหรับเด็ก

2024-01-02T09:16:10+00:00

ยุคสมัยดิจิตอลอาการต่างๆ ของสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มองจอสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเบลล์ที่ไหลๆ อีกมากมายชั่วโมงการทำงานของเด็ก... ตาล้า... ตาสามารถเกิดได้ ...ตารู้สึกถึงความซ้อน...ปวดหัวหรือเวียนศีรษะ...ปวดคอและไหล่...นี่คืออาการที่ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพดวงตา   ***โปรแกรมเหมาจ่ายทุกโปรแกรมมีสิทธิเรียกร้องประกันได้***

โปรยิ้มสดใส ใส่ใจตรวจสุขภาพดวงตา สำหรับเด็ก2024-01-02T09:16:10+00:00

โปรแกรมตรวจหาพังผืดและไขมันเกาะตับ ด้วยเครื่องมือพิเศษ

2023-12-27T11:55:47+00:00

รู้ผลไว ไม่เจ็บตัว เทคโนโลยีในการตรวจดูภาวะการเกิดพังผืดในตับดูความยืดหยุ่นของตับและภาวะตับแข็ง พร้อมกับความสามารถในการตรวจปริมาณไขมันที่สะสมในตับ เป็นวิธีการตรวจแบบไร้ความเจ็บปวด ไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนเหมือนการตรวจด้วยวิธีเจาะตับ   ใครเสี่ยง? มะเร็งตับ ค่าการทำงานของตับผิดปกติ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ B และ C ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือภาวะอ้วน บุคคลที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ***โปรแกรมเหมาจ่าย ทุกโปรแกรมไม่สามารถใช้สิทธิเบิกประกันได้***

โปรแกรมตรวจหาพังผืดและไขมันเกาะตับ ด้วยเครื่องมือพิเศษ2023-12-27T11:55:47+00:00

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ

2023-03-24T11:28:45+00:00

          ภาวะน้ำหนักตัวเกิน อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาของใครหลายคน ขอแค่ได้มีความสุขกับการกินเป็นพอ แต่ในผู้หญิงที่น้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วนต้องระวัง เพราะคุณกำลังเสี่ยงเป็น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) เป็นอาการผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุ 18-35 ปี ที่มีสาเหตุจากรังไข่สร้างฮอร์โมนผิดปกติและพบว่ามีระดับอินซูลินในเลือดมากกว่าปกติด้วย หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดความเสี่ยงหลายประการตามมา ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรงถุงน้ำรังไข่หลายใบ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของแพทย์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงจากความเครียด น้ำหนักตัวเกิน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อ้วนลงพุง...คุณคือกลุ่มเสี่ยง

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ2023-03-24T11:28:45+00:00

วัคซีน…น่ารู้

2020-09-09T09:38:32+00:00

           จากสภาวะโลกในปัจจุบัน ภาวะโลกร้อน การคมนาคมที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของโลกให้ใกล้กันในชั่วพริบตา มีส่วนทำให้การกระจายของโรคติดเชื้อต่างๆ เพิ่มขึ้น รวดเร็วขึ้น แพร่กระจายเป็นวงกว้างขึ้นเช่น โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 รวมถึงเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ระบาดอยู่ในช่วงนี้ โรคติดเชื้อหลายชนิดป้องกันได้ด้วยวัคซีน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กๆ ทั่วโลกควรได้รับวัคซีน เด็กไทยทุกคนก็เช่นเดียวกัน ควรได้รับวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานโรคโดยมีการกำหนดวัคซีนพื้นฐานจากภาครัฐอันได้แก่ วัคซีนบีซีจี วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ วัคซีนโปลิโอ วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี โดยสามารถขอรับบริการได้จากโรงพยาบาลภาครัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีวัคซีนทางเลือกอีกหลายชนิดที่ผู้ปกครองสามารถเสริมให้กับบุตรหลานของท่านได้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นๆ ป้องกันการเกิดโรคเมื่อได้รับเชื้อหรือลดความรุนแรงในการเกิดโรคได้ อาทิเช่น วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ วัคซีนโปลิโอชนิดฉีด วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็น วัคซีนฮิบ วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนอีสุกอีใส วัคซีนนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต วัคซีนโรต้า วัคซีนเอชพีวี            บทความนี้ใคร่ขอนำเสนอรายละเอียดของวัคซีนอีสุกอีใส เพื่อให้ท่านผู้ปกครองเป็นข้อมูลพิจารณาเสริมกับบุตรหลานของท่าน เนื่องจากอีสุกอีใสเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก [...]

วัคซีน…น่ารู้2020-09-09T09:38:32+00:00

ภัยเงียบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน

2020-08-11T08:36:07+00:00

           ใครจะคิดว่าปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิตลำดับต้นๆ จะเป็นจากกระดูกสะโพกหัก และสาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกสะโพกในผู้สูงอายุหักมาจากภาวะกระดูกพรุน            ภาวะกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกพรุน คือโรคที่มวลของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักตามมา โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกบริเวณข้อมือ            ปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดปัญหากระดูกพรุน หรือ Osteoporosis ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยจะพบปัญหาในหญิงมากกว่าชาย เพราะในหญิงจะมีการลดลงของมวลกระดูกเป็นอย่างมากในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากวัยและเพศแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายทั้งยา อาหารและสารเคมี ซึ่งสามารถกล่าวรวมๆ ได้ว่าเกิดจากการสะสมของมวลกระดูกได้น้อย หรือการสูญเสียมากกว่าปกติ สรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้            อันตราย ..... ! [...]

ภัยเงียบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน2020-08-11T08:36:07+00:00

โรคหืด โรคที่มักถูกละเลย (Asthma)

2020-08-14T16:26:17+00:00

           โรคหืด หรือบางคนเรียกว่าโรคหืดหอบนั้น เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งเริ่มต้นมักไม่มีอาการใดๆ ต่อมาจะเริ่มมีอาการ ไอ หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม มีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ เหนื่อยง่ายมากขึ้น ทำไมถึงถูกละเลย มีหลายเหตุผลที่โรคหืดถูกละเลยดังนี้ อาการเป็นพักๆ ไม่ได้เป็นตลอด บางครั้งมีแค่อาการไอนานๆ หลังจากการเป็นหวัด ระยะเริ่มแรกในผู้ใหญ่บางราย แค่ออกกำลังแล้วเหนื่อยเร็วขึ้น เข้าใจว่าหืดเป็นในเด็กเพียงอย่างเดียว            โรคหืดเป็นโรคที่พบได้บ่อย อุบัติการณ์ในประเทศไทยมีถึง 7% คนไทย 100 คน พบโรคหืดได้ถึง 7 คน และพบมากใน 2 ช่วงอายุ คือ วัยเด็ก และ วัยกลางคน โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติโรคหืดในวัยเด็กมาก่อนเลย  ในปัจจุบันแนวโน้มโรคหืดเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ใครบ้างที่ควรสงสัยว่าเป็นหืด คนที่มีอาการดังต่อไปนี้ ไอบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ, ไอนานหลังเป็นหวัด, เหนื่อยง่ายมากขึ้น, รู้สึกเสมหะเยอะ, ไอตอนกลางคืน หรืออากาศเย็น, มีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ [...]

โรคหืด โรคที่มักถูกละเลย (Asthma)2020-08-14T16:26:17+00:00

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด Weight training และ วิ่ง ใครช่วยได้

2023-05-26T16:57:19+00:00

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด...ใครช่วยได้ (Sport injury)  ชอบวิ่ง Love Weight ถ้าบาดเจ็บควรทำอย่างไร            กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ การเล่นกีฬาและการออกกำลังกายทุกประเภทถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคน แต่หากว่าเราหักโหมมากเกินไปจนเกินกำลัง หรือออกกำลังกายผิดวิธีอาจส่งผลให้เราได้รับบาดเจ็บได้   อาการบาดเจ็บที่กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ จากการวิ่ง            วิ่ง ถือเป็นกิจกรรมยอดนิยมในยุคปัจจุบัน ด้วยเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ ทำได้แทบจะทุกที่ ทุกเวลา แต่การวิ่งโดยเฉพาะการขึ้นลงบันได รวมถึงการวิ่งที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณลูกสะบ้าหัวเข่าได้ ซึ่งมักเกิดจากความไม่พร้อมทางร่างกายของตัวผู้วิ่ง หรือมีโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ กระดูกและเส้นเอ็น   อาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ จากการเล่นเวท            Weight Training การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ หรือการเล่นเวท (Weight Training) กิจกรรมประเภทนี้หากมีการใช้น้ำหนักที่มากเกินไปหรือเล่นติดต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อจนทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ข้อควรหลีกเลี่ยงและควรปฏิบัติ     [...]

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด Weight training และ วิ่ง ใครช่วยได้2023-05-26T16:57:19+00:00

เมื่อใดที่เด็กควรพบหมอตา

2022-03-18T15:26:15+00:00

           การมองเห็นในคนปกตินั้น เริ่มมีการพัฒนาของสายตาตั้งแต่แรกคลอดและจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 10 ปี แล้วสายตาจะคงที่จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความผิดปกติของตาตั้งแต่เด็กจึงมีผลอย่างมากต่อการมองเห็นไปตลอดชีวิต การตรวจตาในเด็กจึงมีความสำคัญเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขี้น            เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้นบิดามารดา หรือผู้ดูแลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยเฉพาะความผิดปกติทางตาที่มักต้องใช้การสังเกตอย่างมากเพื่อจะบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น             อาการผิดปกติทางตาในเด็กอาจเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยอาการที่สำคัญที่ควรปรึกษาจักษุแพทย์มีดังนี้ ไม่จ้องหน้า หรือไม่มองตาม ในเด็ก 1-2 เดือนแรกจะมีพัฒนาการด้านสายตาก่อน เด็กจะต้องจ้องมองได้เมื่ออายุไม่เกิน 2 เดือนโดยจะมองหน้ามารดาขณะให้นม และมองตามหน้ามารดาที่ขยับไปมาได้เมื่ออายุ 2-6 เดือน และมองตามสิ่งของใหญ่ๆ ที่ไม่มีเสียง เมื่ออายุมากกว่า 6 เดือน หากเด็กมองตามเสียงเพียงอย่างเดียว อาจมีความผิดปกติทางตาก็ได้ ตาสั่น ขณะที่เด็กจ้องมอง ตาดำควรจะมองนิ่ง หากมีอาการตาสั่นอาจบ่งบอกถึงภาวะผิดปกติของตา หรือความผิดปกติของสมอง ตาวาวคล้ายตาแมวตอนกลางคืน หรือมองเห็นสีขาวในตาดำ อาจเกิดจากความผิดปกติของตา [...]

เมื่อใดที่เด็กควรพบหมอตา2022-03-18T15:26:15+00:00